วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 5 ม.6 เรื่อง การปฏิบัติดนตรีสากล

        การอ่านและเขียนเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลได้ จะทำให้ร้องเพลงหรือเล่นเครื่องดนตรี แบบเดี่ยวและรวมวงได้ถูกต้อง

ในหน่วยการเรียนนี้ นักเรียนจะต้อง
        1.อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่างๆ
        2.ร้องเพลง หรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ม.5 หน่วยที่ 3 เรื่อง ละครตะวันตก

        การเรียนรู้วิวัฒนาการของละครตะวันตกสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางวิเคราะห์แก่นของการแสดง นาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดงได้

        ศิลปะการแสดงละคร เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์นำมาผูกเป็นเรื่องและจัดเสนอในรูปแบบของการแสดง โดยมีนักแสดงเป็นผู้สื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม โดยรวมศิลปะหลายแขนงเข้าด้วยกัน เช่น การกำกับการแสดง การออกแบบสร้างฉาก การออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบและจัดแสง รวมไปถึงดนตรี การร่ายรำ หรือการเต้นรำ

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ม.4 หน่วยที่ 4 เรื่อง การปฏิบัติดนตรีไทย

         การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวโน้ตไทยจะทำให้สามารถอ่านและเขียนโน้ตไทยในอัตราจังหวะต่างๆ ได้ถูกต้องการร้องหรือเล่นเครื่องดนตรีมีทั้งเดี่ยวและรวมวง ซึ่งต้องมีเทคนิคในการแสดงออกเพื่อให้การแสดงออกมามีคุณภาพ

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 4 ม.6 เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับดนตรีสากล

        ดนตรีสากลมีบทบาทสำคัญในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม ซึ่งดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัยจะมีความแตกต่างกันไปตามการสร้างสรรค์ผลงานของนักดนตรีและสถานะทางสังคม

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ดนตรี - ยุคคลาสลิค

ดนตรีสมัยคลาสสิก (THE CLASSICAL PERIOD)
        ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่ในยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมากก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี (ค.ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย

        ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค.ศ. 1814
        สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102)

หลังการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูป
แบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780 
เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early 
classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัย 
คลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน 
วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้ 

        ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยม
การสอดประสานของทำนองที่เรียกว่า
เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง
หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน
ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบ
อิมโพรไวเซชั่น
(Improvisation)
ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน 

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคเบื้องต้นสำหรับการแต่งเพลง

การเขียนเพลงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

การเขียนที่ดีนับว่าเป็นศิลปะชั้นสูงที่ผู้เขียนต้องใช้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์
ตลอดจนทัศนคติในแง่มุมต่างๆ โดยกลั่นกรองความคิดนั้นออกมาเป็นถ้อยคำ เป็นเรื่องราว
ผ่านตัวอักษร โดยใช้ศิลปะและกลวิธีการใช้ภาษาที่ดีทำให้เกิดงานเขียนที่มีคุณค่า