วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคเบื้องต้นสำหรับการแต่งเพลง

การเขียนเพลงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

การเขียนที่ดีนับว่าเป็นศิลปะชั้นสูงที่ผู้เขียนต้องใช้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์
ตลอดจนทัศนคติในแง่มุมต่างๆ โดยกลั่นกรองความคิดนั้นออกมาเป็นถ้อยคำ เป็นเรื่องราว
ผ่านตัวอักษร โดยใช้ศิลปะและกลวิธีการใช้ภาษาที่ดีทำให้เกิดงานเขียนที่มีคุณค่า

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประเภทวงดนตรีสากล

ประเภทของวงดนตรีสากล แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อยในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถง
ตามราชสำนักหรือ คฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้นสถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้อง
โถงใหญ่และใน Concert Hall ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะ แชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆ กัน โดยปกติจะมี
นักดนตรี 2-9 คนและเรียกชื่อต่างๆกันตามจำนวนของผู้บรรเลง ดังนี้

จำนวนผู้บรรเลง 2  คน  เรียกว่า  ดูโอ (Duo)

จำนวนผู้บรรเลง 3  คน  เรียกว่า  ทรโอ (Trio)

จำนวนผู้บรรเลง 4  คน  เรียกว่า  ควอเตท (Quartet)

จำนวนผู้บรรเลง 5  คน  เรียกว่า  ควินเตท (Quintet)

จำนวนผู้บรรเลง 6  คน  เรียกว่า  เซกซ์เตท (Sextet)

จำนวนผู้บรรเลง 7  คน  เรียกว่า  เซปเตท (Septet)

จำนวนผู้บรรเลง 8  คน  เรียกว่า  ออกเตท (Octet)

จำนวนผู้บรรเลง 9  คน  เรียกว่า  โนเนท (Nonet)


 ตัวอย่างลักษณะการดูเอ็ด (Duet) มีผู้บรรเลง 2 คน

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์ดนตรี - ยุคเรเนซองส์

ดนตรีสมัยรีเนซองส์ (THE RENAISSANCE PERIOD 1450-1600)

ภาพ The Birth of Venus

          คำว่า Renaissance แปลว่า “การเกิดใหม่ ” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้ หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลีโดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

         ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์ดนตรี - ยุคกลาง

ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก (Western Music History)
เอกสารประกอบการสอน วิชาดนตรี
โรงเรียนประชาวิทย์
          โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
          ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
          การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
       การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1.       สมัยกรีก (Ancient Greek music)
2.       สมัยโรมัน (Roman)
3.       สมัยกลาง (The Middle Ages)
4.       สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)
5.       สมัยบาโรก (The Baroque Age)
6.       สมัยคลาสสิก (The Classical Period)
7.       สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)
8.       สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)
9.       สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)