วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคเบื้องต้นสำหรับการแต่งเพลง

การเขียนเพลงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

การเขียนที่ดีนับว่าเป็นศิลปะชั้นสูงที่ผู้เขียนต้องใช้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์
ตลอดจนทัศนคติในแง่มุมต่างๆ โดยกลั่นกรองความคิดนั้นออกมาเป็นถ้อยคำ เป็นเรื่องราว
ผ่านตัวอักษร โดยใช้ศิลปะและกลวิธีการใช้ภาษาที่ดีทำให้เกิดงานเขียนที่มีคุณค่า
ถ้าผู้เขียนเพลงไม่มีศาสตร์ผลงานที่เขียนออกมาจะไม่สมจริงขาดความน่าเชื่อถือและไม่ต่อเนื่อง
คือ จะเขียนได้ไม่ต่อเนื่องเขียนได้ไม่มาก จะเขียนได้แค่ตามแต่ที่แรงบันดาลใจมี
เมื่อหมดแรงบันดาลใจปลายปากกาก็หยุดการเคลื่อนไหว
จากนั้นก็จะจอดอยู่กับที่หรือที่เรียกกันว่า " แป๊ก" นั้นเอง
แต่ถ้าผู้เขียนไม่มีศิลป์ผลงานที่ออกมา จะไม่งดงามไม่พลิ้วไหวไม่มีความซาบซึ้งถึงอรรถรส
ดังนั้นการเขียนเพลงต้องมีทั้งสองอย่างนี้ประกอบกันอยู่



สูตรการเขียนเพลง


การเขียนเพลงไม่มีสูตรสำเร็จ
แต่การเขียนเพลงก็มีวิธีการคิดการเขียนในแต่ละแนวไม่ต่างกันมากนัก
พูดง่ายๆก็คือ สูตรการเขียนเพลง ก็คือการลอกเลียนแบบกันไปกันมา หรือการเอาอย่าง
แต่ไม่ได้หมายถึงการก๊อบปี้นะ หรือที่เรียกว่าได้ฟังเพลงเขาแล้วเราเกิดไอเดีย
มันก็คือการเลียบแบบ แบบลับนี้เอง ขึ้นอยู่กับว่าจะลอกแบบความคิดของคนอื่นมามากน้อยเพียงใด
แล้วแต่ว่าคำ ภาษา หรือเรื่องราวในเพลงจะมาบวกกับจิตนาการของเขาอย่างไร
เมื่อเขียนเพลงไปนานๆเข้า งานเขียนจะเกิดเป็นอัตลักษณ์เป็นตัวของตัวเอง
บางคนแค่ได้ฟังเพลงแค่ท่อนแรกก็ไปถึงบางอ้อได้เลยว่าเป็นเพลงจากปลายปากกาของใคร
ไม่มีนักเขียนคนใดเกิดมาพร้อมปากกาและสมุดเขียนเพลงได้ไพเราะน่าอัศจรรย์ใจไม่มีเลย
นักเขียนทุกคนมีครูมีอาจารย์ อาจจะไม่ใช่ครูในชีวิต แต่อาจเป็นครูในใจ
นักเขียนคนหนึ่งอาจมีครูมีไอดอลในใจเกินสิบคนก็มี (ประเภทคนหลายใจ)ความรู้ที่มีมา
ความชอบส่วนตัว ความคิด ประสบการณ์ชีวิต อุดมการ์ในการเขียน
เมื่อสั่งสมหล่อหลอมรวมๆกันเข้าจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของเขาเอง

หลักการเขียนเพลง(อย่างง่าย)



เพลงต้องมี
1. ความน่าสนใจ
2. มีช่วงที่เกี่ยวหู
3. ทำให้มีอารมณ์ร่วมได้

ส่วนประกอบของเพลง
1. VERSE = เกริ่นเริ่มเรื่อง
2. PRE-CHORUS/CLIMB = การกระตุ้น การนำพาเข้าสู่เนื้อเรื่องสำคัญ
3. CHORUS/HOOK = ใจความสำคัญ เนื้อหาหลัก จุดเฉลย
4. BRIDGE = ส่วนขยาย เพิ่มเติม อาจจะเป็นในอีกมุมมองนึงจากท่อน CHORUS ก็ได้

ขั้นตอนการเรียน
1. เขียน Plot เรื่อง อาจเขียนเป็นเรื่องราว หรือ นิทาน
2. เก็บข้อมูล หาเรื่องเปรียบเทียบ
3. เขียนเนื้อหา แล้วแบ่งเป็นส่วนๆ
4. จัดว่างเนื้อหา

MOTIVE
- ทำให้เพลงจับต้องได้ง่าย ไปกับเพลงได้ง่าย เป็นการสร้างจุดสนใจในเพลง
1. จำนวนพยางค์ (ซ้ำพยางค์เท่ากัน)
2. ซ้ำเสียงโน้ต
3. ซ้ำคำ (และฉันจะรัก...รักเธอ...รักเธอ)
4. MOTIVE ด้วยตำแหน่งของคำ (อาจมีคำคำนึงที่อยู่ในทุกประโยค และอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน)
5. สัมผัสใน เช่น "คอยรับเรื่องราวร้ายร้าย" เป็น ร ทั้งหมด

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

แถมท้ายกับประวัติ และมุมมองต่างๆของพี่บอย โกสิยพงษ์
นักแต่งเพลงชื่อดัง
Idol เลยคนนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น