วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประเภทวงดนตรีสากล

ประเภทของวงดนตรีสากล แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อยในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถง
ตามราชสำนักหรือ คฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้นสถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้อง
โถงใหญ่และใน Concert Hall ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะ แชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆ กัน โดยปกติจะมี
นักดนตรี 2-9 คนและเรียกชื่อต่างๆกันตามจำนวนของผู้บรรเลง ดังนี้

จำนวนผู้บรรเลง 2  คน  เรียกว่า  ดูโอ (Duo)

จำนวนผู้บรรเลง 3  คน  เรียกว่า  ทรโอ (Trio)

จำนวนผู้บรรเลง 4  คน  เรียกว่า  ควอเตท (Quartet)

จำนวนผู้บรรเลง 5  คน  เรียกว่า  ควินเตท (Quintet)

จำนวนผู้บรรเลง 6  คน  เรียกว่า  เซกซ์เตท (Sextet)

จำนวนผู้บรรเลง 7  คน  เรียกว่า  เซปเตท (Septet)

จำนวนผู้บรรเลง 8  คน  เรียกว่า  ออกเตท (Octet)

จำนวนผู้บรรเลง 9  คน  เรียกว่า  โนเนท (Nonet)


 ตัวอย่างลักษณะการดูเอ็ด (Duet) มีผู้บรรเลง 2 คน



ตัวอย่างลักษณะการเล่นแบบควอเต็ด (Quartet) มีผู้บรรเลง 4 คน

การเรียกชื่อจะต้องบอกชนิดของเครื่องและจำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น

สตริงควอเตท (String Quartet)  มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน และเชลโล 1 คัน

สตริงควินเตท (String Quintet)  มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา1คัน เชลโล 1 คันและดับเบิลเบส 1คัน

วูดวินควินเตท(Woodwind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5คน

   

แชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรีแต่ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด เพราะเสียงของเครื่องดนตรี
ตระกูลนี้กลมกลืนกัน
( *สำหรับปัจจุบันแล้ววงแชมเบอร์มิวสิคยังคงได้รับความที่นิยมนำไปใช้บรรเลงในงานฉลองมงคลสมรสอีกด้วย* )
      ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน คน แต่ไม่ถึง 20 คน  เรียก อังซังเบลอ (ensemble)
2.วงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)          วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คนขนาดกลาง 60-80 คน และ วงใหญ่ 80-110 คน หรือมากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับเครื่องสายเป็นหลัก และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดี รวมถึงวาทยากร(conductor)ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม
ตัวอย่างการบรรเลงแบบวงซิมโฟนี ออร์เครสตร้า 
3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)หรือวงดนตรีลีลาศ         ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกลุ่มแซกโซโฟนกลุ่มเครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ ปอปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี 3 ขนาด         1.วงขนาดเล็ก(วง 4x4) มีเครื่องดนตรี 12 ชิ้น ดังนี้ กลุ่มแซ็ก ประกอบด้วย อัลโตแซ็ก 1 คัน เทเนอร์แซ็ก 2 คันบาริโทน แซ็ก 1 คัน กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3 คัน ทรอมโบน 1 คัน กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1 ตัว กลองชุด 1 ชุด (วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4 ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
        2.วงขนาดกลาง (5 x 5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน 
        3.วงขนาดใหญ่ (5 x 7) มี 16 ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ตและทรอมโบนอย่างละตัว ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโนคะ
ตัวอย่างวงดนตรีขนาด 5x7

4.วงคอมโบ (Combo band) หรือ สตริงคอมโบ

          เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก Popular Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ 3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมี พวกริทึม(Rhythm) และพวกเครื่องเป่าทั้งลมไม้และเครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ กลองชุด เบส เปียโนหรือมีเครื่องเป่าผสมด้วย  จะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวนแต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับปอปปูลามิวสิค             วงคอมโบก็เป็นสมอลล์แบนด์ (small Band)แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักจึงเหมาะสำหรับเล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆไปนอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิคอีกด้วยเพลงไทยสากลและเพลงสากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานสังสรรค์ต่างๆประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนื้ 1.แซ็กโซโฟน 2ทรัมเป็ต 3 ทรอมโบน 4 เปียโนหรือออร์แกน 5 กีตาร์คอร์ด 6 กีตาร์เบส
วง Groove Rider ตัวอย่างวงดนตรีแบบคอมโบ (Combo)

5. วงชาร์โด(Shadow) 

         เป็นวงดนตรีขนาดเล็กเริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 20ปีมานี่เองในอเมริกาวงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะ The Beattle หรือสี่เต่าทองเครื่องดนตรี ในสมัยแรก มี4 ชิ้น คือ
1. กีตาร์เมโลดี้(หรือกีตาร์โซโล)    2. กีตาร์คอร์ด   3. กีตาร์เบส   4. กลองชุด
           วงชาโดว์ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่าเช่นแซกโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม และบางทีอาจมีไวโอลินผสมด้วยเพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น  โดยเฉพาะเพลงประเภท อันเดอร์กราว
เพลง Let it be วง The Beatles นำมาเล่นโดย Paul McCartney

6. วงแจ๊ส (Jazz)

Blues Jazz เพลงบลูส์        เป็นเพลงเก่าแก่ของ แจ๊๊ส มาจากเพลงสวดอันโหยหวลของพวกนิโกร เพลงบลูส์มีอายุร่วม100 ปี เกิดขึ้นที่นิวออร์ลีนแถบปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี แต่สมัยแรกๆไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ต่อมา พ.ศ. 2467 ได้มีการอัดแผ่นเสียงจำหน่าย จึงแพร่หลายได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งดนตรีได้มีโอกาสไปแสดงตามที่ต่างๆ ในสมัยแรกๆ เพลงบลูส์ใช้กีตาร์เล่นนำ และคลอเสียงร้อง เล่นกันตามข้างถนน ตามย่านชุมชน คนผ่านไปมาก็ให้เงินบ้างไม่ให้บ้าง เนื้อร้องร้องไปคิดไป ไม่มีการเตรียมไว้ล่วงหน้ามาก่อน        ดังนั้นร้องกี่ครั้งก็ไม่เหมือนกัน นึกจะจบก็จบเอาดื้อๆ คล้ายกับเพลงฉ่อยของประเทศไทย เพลงบลูส์ได้รับอิทธิพลจากศาสนามาก  ดังนั้นเนื้อร้องก็มีเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเข้ามาปนอยู่ด้วย ต่อมาเพลงบลูส์ได้เจริญขึ้นก็นำไปเล่นกับวงแจ๊๊สก็กลายเป็นบลูส์์แจ๊๊ส         เพลงประเภทนี้ส่วนมากจังหวะช้าๆ ครั้งแรกที่ไม่ค่อยนิยมเพลงบลูส์เนื่องจากโน้ตค่อนข้างยากต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472 จึงเป็นแรงหนึ่งที่ทำให้รับความนิยม         New orlean and dixieland style ทั้ง 2 แบบเหมือนกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก เริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 และมาแพร่หลายในปพ.ศ 2473 ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472         ต่อมามีทรอมโบนและคลาริเ็น็ท เบนโจ กีตาร์ ทูบา กลอง เปียโน แซ็กโซโฟน ปัจจุบันใช้เบสแทนทูบา นิยมให้ทรัมเป็ตเป็นตัวนำก่อนแล้วจึงเล่นพร้อมกันทั้งวงและเล่นกันเฉพาะทำนอง เพราะยังไม่มีใครรู้จัก Adlib กันเท่าไหร่ กลองก็เล่นจังหวะธรรมดา         Modern Style โฉมหน้าของแจ๊๊สได้เปลี่ยนไปมากเมื่อหลุยส์ อาร์มสตรองได้คิดวิธีเล่นใหม่ คือ มีทำนองหลักแล้วผลัดกันเล่นทีละคน  แต่ละคน Adlib กันอย่างสนุกสนานและเล่นค่อนข้างเร็วมาก บางทีก็เล่นพร้อมๆ กัน ฟังดูเหมือนต่างคนต่างเล่น แต่อยู่ในกรอบอันเดียวกัน Bop Style ผู้ที่คิดขึ้น คือ The lonious Monk กับ Dizzy gillespie โดยเอาแบบของยุโรปมาผสมมีการเปลี่ยนแปลงทำนองและจังหวะ ใช้คอร์ดเป็นหลัก เล่นเร็วมาก ผลัดกันเล่นทีละชิ้น
จังหวะของแจ๊สในยุคหลังก็ได้เกิดขึ้นใหม่ๆ
Swing          กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้ เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเน็ทกับพวกผิวดำ ต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกัน และเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing Rock n’ Roll
        ก็แตกแขนงจาก แจ๊๊ส เมื่อราว พ.ศ. 2493 ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกา        ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ เอลวิส เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.ค. 2520)        เพลงแจ๊๊สที่เราคุ้นๆ หูก็คือเพลง When the saints to marching in เพลงนี้เป็นเพลงที่เก่าแก่มาก ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง เป็นเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงมาก ในการแสดงดนตรีแจ๊๊สทุกครั้งมักมีเพลงนี้เล่นด้วยเสมอ ตอนแรกเป็นเพลงสวด ต่อมาเล่นแบบมาร์ชและในที่สุดก็เล่นแบบ New orleans อาร์มสตรองเล่นเพลงนี้ได้ดีที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2481 เครื่องดนตรีแจ๊๊ส ที่นิยมเล่นกันมีดังนี้คือ 1คลาริเน็ท 2 แซ็กโซโฟน (โซปราโน,อัลโต,เทเนอร์)3คอร์เน็ต 4ทรัมเป็ต 5ทรอมโบน 6เบนโจ 7เปียโน 8 กีตาร์ 9 เบส 10กลองชุด ปัจจุบันแจ๊๊สได้เล่นอย่างมีแบบแผน มีการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นมีการกำหนดแน่นอน ซึ่งใช้แบบของวงดนตรีปอปปูลามิวสิค
ตัวอย่างเพลงสไตล์ บลูแจ๊ส

ตัวอย่างเพลงสไตล์ Smooth Jazz

7.วงโยธวาทิต (Military Band)         ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม คือ เครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหารในสมัยสงครามครูเสด ได้ซบเซาไปพักหนึ่ง และเจริญอีกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
        ต่อมาในสมัยของนโปเลียน ได้ปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดเช่น พวกขลุ่ยผิว พวกปี่และแตรและต่อมาก็เป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต        ในราวกลางศตวรรษที่ 19 เมื่ออดอลฟ์แซกซ์ นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและแตรต่างๆ ในตระกูลแซกฮอร์น จึงได้นำมาไว้กับวงโยธวาทิตด้วย จึงสมบูรณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันวงโยธวาทิตมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี 56 ชิ้น

ตัวอย่างวงโยธวาทิตในปัจจุบัน


8.แตรวง (Brass Band)

         คือวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบ แตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค แห่เทียนพรรษา เป็นต้นแตรวงมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี 26 ชิ้น

ตัวอย่างแตรวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น