วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์ดนตรี - ยุคกลาง

ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก (Western Music History)
เอกสารประกอบการสอน วิชาดนตรี
โรงเรียนประชาวิทย์
          โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
          ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
          การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
       การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1.       สมัยกรีก (Ancient Greek music)
2.       สมัยโรมัน (Roman)
3.       สมัยกลาง (The Middle Ages)
4.       สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)
5.       สมัยบาโรก (The Baroque Age)
6.       สมัยคลาสสิก (The Classical Period)
7.       สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)
8.       สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)
9.       สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)
         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle   age    คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

 ดนตรีสมัยกลาง (THE MIDDLE AGES 450-1450)




          ดนตรีในสมัยกลางเป็นสิ่งที่ยากที่จะศึกษาเนื่องจากว่าดนตรีเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว เสียงตามท้องถนนของพ่อค้าเร่ เสียงร้องเพลงจากทุ่งหญ้าของกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การเต้นรำในงานรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงดนตรีบนเวที และแม้แต่บทเพลงจากกวีในภาคใต้ของฝรั่งเศส (ในศตวรรษที่ 11-13) ล้วนแล้วแต่มีอายุสั้น แม้แต่ดนตรีที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแฟชั่นเท่านั้น ซึ่งเหลือทิ้งไว้แต่คำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของมันประมาณ ค.ศ. 500 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเปลี่ยนจากยุคมืด (The Dark Ages) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ แวนดัล (Vandals, Huns) และ วิซิกอธ (Visigoths) เข้าไปทั่วยุโรป และนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิโรมัน เป็นเวลา 10 ศตวรรษต่อมา

          สมัยกลางคือ ระยะเวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงปลายศตวรรษที่ 14 (ค.ศ.450-1450) สมัยนี้เจริญสูงสุดเมื่อประมาณศตวรรษที่ 12-13 ศาสนามีอำนาจสูงมาก ทั้งด้านปัญญาและสปิริต ทำให้คนสามารถรวมกันได้ หลังจากนั้นก็เริ่มเสื่อมลงแล้วติดตามด้วยสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสหลังจากสงครามก็มีการแตกแยกเกิดขึ้น ในสมัยนี้เริ่มมีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงคฤหัสถ์ (Secular music) ซึ่งเป็นเพลงขับร้องเพื่อความรื่นเริงได้รับความนิยมและแพร่หลายมาก ในประเทศต่าง ๆ ทางยุโรปตะวันตก นอกเหนือไปจากเพลงโบสถ์ (Church music) ซึ่งเพลงทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะต่างกันคือเพลงโบสถ์ซึ่งมีหลักฐานมาก่อน มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียวมักไม่มีดนตรีประกอบไม่มีอัตราจังหวะ ร้องเป็นภาษาละตินมีช่วงกว้างของทำนองจำกัด บันทึกเป็นภาษาตัวโน้ตที่เรียกว่า Neumatic notation เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่นกันนอกวัด มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียว ที่มักจะมีดนตรีเล่นประกอบเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะปกติมักเป็นในจังหวะ 3/4 มีจังหวะสม่ำเสมอเป็นรูปแบบซ้ำทวน ทำนองเป็นตอน ๆ มีตอนที่เล่นซ้ำ

ลักษณะที่กล่าวนี้เป็นลักษณะของเพลงในสมัยกลางตอนต้น ๆ ในระยะตอนปลายสมัยกลางคือราว ค.ศ. 1100-1400 นั้น ลักษณะของดนตรีเปลี่ยนแปลงพัฒนาไป ซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ

          ช่วงเวลาประมาณ 300 ปี ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 12-14 ดนตรีในวัดมีรูปแบบเปลี่ยนไปจากตอนต้นของสมัยกลาง กล่าวคือ ในราวคริสตศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา เพลงแชนท์ ซึ่งรู้จักกันในนามของเกรเกอเลียน แชนท์
(Gregorian Chant) ได้รับการพัฒนามาเป็นรูปของการขับร้องแบบสอดประสานหรือ โพลีโฟนี (Polyphony) จนถึงคริสตศตวรรษที่ 13 ลักษณะของเพลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ ออร์แกนนั่ม (Organum) คือ การร้องในลักษณะของการร้องประสานเสียงสองแนว โดยใช้ระยะขั้นคู่เสียงคู่สี่เป็นหลักและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ระยะต่อมาการเคลื่อนที่เริ่มไม่จำกัดทิศทางและท้ายที่สุดมีออร์แกนนั่มแบบเสียงที่สอง (เสียงต่ำ) ร้องโน้ตยาว ๆ เพียง 1 ตัว ในขณะที่เสียงหนึ่ง (เสียงสูง) ร้องโน้ต 5-10 ตัวเนื่องจากออร์แกนนั่มเป็นเพลงที่พัฒนามาจากดนตรีในวัดหรือเพลงโบสถ์จึงเป็นเพลงที่ไม่มีอัตราจังหวะในระยะแรกต่อมาจึงเริ่มมีลักษณะของอัตราจังหวะ กล่าวได้ว่าในช่วงเวลานี้สิ่งสำคัญเกิดขึ้น คือการร้องแบบสองทำนองเริ่มเกิดขึ้นแล้วอย่างเด่นชัด เป็นลักษณะของการสอดประสานในสมัยกลางนี้ทางดนตรีแบ่งเป็นสมัยย่อย ๆ ได้สองสมัย คือ สมัยศิลป์เก่า (Ars Antiqua) และสมัยศิลป์ใหม่ (Ars Nova)
http://student.nu.ac.th/pick_ed/PERLGREEN.gif สมัยศิลป์เก่า (ARS ANTIQUE)

          ดนตรีในช่วงเวลาจากกลางศตวรรษที่ 12 ถึงปลายศตวรรษที่ 13 บางทีก็เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Ars Antique (The old Art) ซึ่งเป็นชื่อที่นักดนตรีรุ่นศตวรรษที่ 14 ตั้งชื่อย้อนหลังให้ ลักษณะของดนตรีในสมัยศิลป์เก่ามีลักษณะเป็นการสอดประสานแล้ว ซึ่งเรียกว่า ออร์แกนนั่มผู้นำ คือ กลุ่มนอเตอร์ เดม (Notre Dame) นอกจากนี้ยังเกิดการประพันธ์ในลักษณะใหม่ขึ้นเรียกว่า
          โมเต็ต (Motet) คือ การนำทำนองจากเพลงแชนท์มาเป็นแนวเสียงต่ำหรือแนวเบส และเพิ่มเสียง 2 เสียงเข้าไปโดยเสียงที่เพิ่มมีจังหวะการเคลื่อนที่ของตัวโน้ตเร็วกว่าเสียงต่ำที่มีตัวโน้ตจังหวะยาวกว่า บางครั้งใช้เครื่องดนตรีเล่นแทนคนร้อง และมีเพลงอีกลักษณะหนึ่งเกิดขึ้น คือ คอนดุคตุส (Conductus) คือ เพลงในลักษณะเดียวกับโมเต็ต แต่แนวเสียงต่ำแต่งขึ้นใหม่ มิได้นำมาจากทำนองของเพลงแชนท์แบบโมเต็ต ส่วนเนื้อหาของเพลงมีต่าง ๆ กันออกไปทั้งเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องนอกวัด เช่น เรื่องการเมือง การเสียดสีสังคมเป็นต้น
          ลักษณะเด่นของ สมัยนี้คือ เริ่มมีการแต่งเพลงสองแนวจนถึงสี่แนว ในบางครั้งเพลงเริ่มมีอัตราจังหวะ ปกติมักเป็น 3/4,6/8หรือ 9/8 ปรากฏให้เห็นผู้ประพันธ์เพลงที่ควรรู้จัก คือ เลโอนิน และเพโรตินซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงเกี่ยวกับศาสนา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักร้องที่เล่นเพลงพื้นบ้านหลายกลุ่ม ซึ่งมักจะร้องแบบแนวเสียงเดียว ได้แก่
กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ทรูบาดูร์” (Troubadours) อยู่ในแคว้นโปรวังซ์ (Provence) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13

          กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นชนชั้นผู้ดีผู้มีอันจะกิน และ ทรูแวร์”(Trouveres) อยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส กลุ่มนี้เจริญขึ้นหลังจากกลุ่มทรูบะดูร์เล็กน้อย ส่วนในประเทศเยอรมันมีพวกมินเนซิงเกอร์ (Minnesingers) เป็นผู้เผยแพร่เพลงขับร้องที่พรรณนาถึงความกล้าหาญของเหล่าอัศวินหรือรำพันถึงความรักที่หวานซึ้ง



สมัยศิลป์ใหม่ (ARS NOVA)

Ars Nova แปลว่า The New Art เป็นชื่อที่ศิลปินในศตวรรษที่ 14 ตั้งขึ้นเพื่อเรียกดนตรีของพวกตน ซึ่งแตกต่างจากดนตรีในศตวรรษก่อนหลาย ๆ อย่างเช่น นิยมใช้จังหวะคู่ (Duple time) 2/4 มากกว่าอัตรา 3 จังหวะ 3/4 แบบเดิม และใช้กระสวนจังหวะใหม่ ๆ แทน เริ่มมีการประพันธ์เพลงในรูปใหม่ เช่น มาดริกาล (Madrigal) เป็นโพลีโฟนี (Polyphony) เพลงที่มีรูปแบบการซ้ำทวนของทำนองหนึ่งและจบลงอีกทำนองหนึ่ง เช่น AAB หรือ AAAB ประกอบด้วยแนวเสียง 2-3 แนว มีกำเนิดในประเทศอิตาลี เพลงโมเต็ต มีการเปลี่ยนรูปแบบ โดยแนวเสียงต่ำที่นำมาจากแชนท์มีการเปลี่ยนลักษณะของจังหวะไปไม่ใช่เป็นเพียงโน้ตจังหวะเท่ากัน ในอัตรายาว ๆ แบบโมเต็ตในสมัยศิลป์เก่า

 เครื่องดนตรี
- เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก ได้แก่ ซอวิแอล (Vielle) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบ็ค (Rebec)
ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์ และซอทรอมบา มารินา (Tromba marina) ซึ่งเป็นซอ
ขนาดใหญ่ มีสายเพียงสายเดียวหรือถ้ามีสองสายก็เทียบเสียงระดับเดียวกัน (Unison) และผู้บรรเลงจะต้องยืนสีซอ

- เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้นิ้วดีด ได้แก่ ลิวต์ (Lute)

 ภาพทูตสวรรค์กำลังบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ
- เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) ปี่ชอม (Shawm) แตรฮอร์นและทรัมเปต


 ปี่ชอม ,  ขลุ่ยรีคอร์เดอร์
  ประวัติผู้ประพันธ์เพลง
1. เลโอนิน (Leonin ประมาณ 1130-1180) 
เป็นผู้ควบคุมวงขับร้องประสานเสียงของกลุ่มนอเตอร์ เดมณ กรุงปารีส เขารวบรวมเพลงออร์แกนนั่ม
ซึ่งเป็นเพลงโบสถ์ในพิธีต่าง ๆ ตลอดทั้งปีไว้ในหนังสือชื่อ “Great Book of Organum”
บางครั้งชื่อของเลโอนินเรียกเป็นภาษาละตินว่า ลีโอนินัส

2. เพโรติน (Perotin หรือ Perotinus Magnus ประมาณ 1160-1220) 
เป็นผู้ควบคุมวงนักร้องประสานเสียงและผู้ประพันธ์เพลงของกลุ่มนอเตอร์ เดม ณ กรุงปารีส เป็นรุ่นน้องของเลโอนิน ทั้งคู่เป็นผู้บุกเบิกรูปแบบการประพันธ์เพลงแบบการสอดประสานทำนอง ทั้งเลโอนินและเพโรติน
เป็นผู้ประพันธ์เพลงในสมัยศิลป์เก่า ซึ่งเป็นแนวการประพันธ์แตกต่างจากสมัยศิลป์ใหม่

3. จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna) 
เป็นผู้ประพันธ์เพลงที่สร้างรูปแบบให้กับสมัยศิลป์ใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง ในช่วงที่เขาอยู่ในกรุงมิลานได้ผลิต
ผลงานมากมาย ได้แก่ เพลงมาดริกาล 30 บท คาทชา (Caccia) 1 บท และโมเต็ต 1 บท
นอกจานี้ยังประพันธ์เพลงลาอูเด (Laude) ซึ่งเป็นเพลงสำคัญของชาวอิตาเลียนแบบหนึ่ง จาคาโปเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่พยายามพัฒนารูปแบบของเพลงแบบการสอดประสานทำนองคนสำคัญของอิตาลี ผลงานของจาคาโปมีจุดเด่นที่แนวทำนองที่เด่นชัดแสดงออกถึงจินตนาการ การใช้จังหวะในลักษณะต่าง ๆและการเคลื่อนที่ไปของแนวเสียงต่าง ๆ ที่ไม่ขึ้นแก่กันในลักษณะของความกลมกลืน

4. แลนดินี (Francesco Landini ประมาณ 1325-1397) 

ผู้ประพันธ์เพลงและนักออร์แกนเป็นบุตรของจิตรกร แลนดินีตาบอดมาตั้งแต่เด็กจึงหันมาศึกษาดนตรีมีชื่อเสียงในฐานะ นักออร์แกนที่สามารถเล่นได้อย่างไพเราะเต็มไปด้วยเทคนิคซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังทั่วไป แนวการประพันธ์ของแลนดินีมีลักษณะของความเป็นตัวของตัวเองมาก การถ่ายทอดอารมณ์ในเพลงมีมากกว่าผู้ประพันธ์เพลงสมัยก่อนหน้าเขา บทเพลงร้องหลายแนว ประเภทเพลงคฤหัสถ์มีชื่อเสียงและเป็นต้นกำเนิดของเพลงมาดริกาลของสมัยศิลป์ใหม่
แลนดินีจัดเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่มีผลงานมากมาย หนึ่งในสามของบทเพลงที่ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียนประพันธ์ไว้
ในสมัยนี้เป็นบทประพันธ์เพลงของแลนดินี

5. มาโชท์ (Guillaume de Machaut, ประมาณ 1300-1377)
ผู้ประพันธ์เพลงสำคัญในสมัยศิลป์ใหม่ มาโชท์เป็นพระชาวฝรั่งเศส เพลงที่ประพันธ์ส่วนใหญ่จึงเป็นเพลงโบสถ์
โดยเฉพาะเพลงแมสของมาโชท มีชื่อเสียงมาก นอกจากนี้มาโชท์ยังมีผลงานเพลงคฤหัสถ์จำนวนหนึ่งด้วย
ผลงานของมาโชท์เต็มไปด้วยความประณีตในการใช้รูปแบบของการสอดประสานทำนอง
(ณรุทธ์ สุทธ์จิตต์,2535 :136-140)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น