วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ม.4 หน่วยที่ 4 เรื่อง การปฏิบัติดนตรีไทย

         การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวโน้ตไทยจะทำให้สามารถอ่านและเขียนโน้ตไทยในอัตราจังหวะต่างๆ ได้ถูกต้องการร้องหรือเล่นเครื่องดนตรีมีทั้งเดี่ยวและรวมวง ซึ่งต้องมีเทคนิคในการแสดงออกเพื่อให้การแสดงออกมามีคุณภาพ


เป้าหมาย
        1.อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่างๆ

การเรียนรู้โน้ตเพลงมีความสำคัญต่อการศึกษาดนตรีไทยอย่างไร
       ทำให้รู้อัตราส่วนของโน้ตเพลงในแต่ละห้องเพลง ว่ามีอัตราจังหวะอย่างไร

การอ่านโน้ตดนตรีไทย
ก่อนที่จะมีฝึกอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ในด้านของ จังหวะ และ ทำนอง เสียก่อน
    ทำนอง หมายถึง เสียงสูง กลาง ต่ำ นำมาเรียบเรียงกันจนทำให้เกิดเป็นทำนองที่ไพเราะ
    จังหวะ หมายถึง อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างมีระบบ โดยจังหวะในที่นี้ยกตัวอย่างให้เป็นจังหวะของการปรบมือจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จังหวะคือ
                 จังหวะตก  หมายถึงจังหวะหนักหรือจังหวะที่ปรบมือแล้วทำให้เกิดเสียง
                 จังหวะยก  หมายถึง จังหวะที่เรายกมือออกจากันหรือจังหวะที่ไม่เกิดเสียงใดๆ
สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในการอ่านโน้ตดนตรีไทย
    การบันทึกโน้ตดนตรีไทย  ดนตรีไทยในหนึ่งบรรทัด มีห้องทั้งหมด 8 ห้อง ในแต่ละห้องสามารถบรรจุโน้ตได้ 4 ตัว
ในหนึ่งห้อง แบ่งออกได้เป็น 4 จังหวะ คือ /_ _ _ _/ เรียงลำดับ จากจังหวะที่ 1 2 3 และ 4  โดยกำหนดให้
                จังหวะที่1 เป็นจังหวะยก
                จังหวะที่2 เป็นจังหวะตก
                จังหวะที่3 เป็นจังหวะยก
                จังหวะที่4 เป็นจังหวะตก

ในการอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ก่อนอื่นจะต้องฝึกนับจังหวะ 1 ถึง 4 วนกันไปเรื่อยๆ เสียก่อน แล้วให้ทำการปรบมือโดยที่ให้จังหวะตก ไปตกอยู่ที่จังหวะตัวที่ 2 และ 4 นั่นก็แสดงว่าจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่ไม่ได้ปรมมือนั้นเอง หรือก็คือจังหวะยกนั้นเอง 
             ทีนี้เราลองมาฝึกอ่านโน้ตของจริงกันดู
ตัวอย่าง /_ _ _ ด/_ _ _ ร/_ _ _ ม/_ _ _ ฟ/_ _ _ ซ/_ _ _ ล/_ _ _ ท/_ _ _ ด/
     เมื่อเราสังเกตจะเห็นได้ว่าในแต่ละห้องนั้นจะมีโน้ตอยู่ตำแหน่งของตัวที่ 4 ของทุกห้อง ส่วน ตำแหน่งที่ 1 2 และ 3 ไม่มีโน้ตอยู่เมื่อเรานับหรือปรมมือในตำแหน่งเหล่านั้น เราจึงไม่ต้องออกเสียงโน้ตตัวใด แต่เมื่่อเรานับหรือปรบมือไปถึงจังหวะที่ 4 เราจะต้องออกเสียงตัวโน้ต เพราะโน้ตทุกตัวอยู่ในจังหวะที่ 4 ของทุกห้อง เพราะฉะนั้นให้เราทำการปรบมือตามปกติพอถึงจังหวะที่มีโน้ตจึงค่อยเปล่งเสียงโน้ตนั้นออกมา
    การอ่านโน้ตดนตรีไทยจึงไม่ค่อยยากมีหลักการง่ายๆ คือ ปรมมือตามปกติ โดยให้คำนึงถึงจังหวะตก และ จังหวะยก แล้วก็ดูโน้ต ถ้ามีโน้ตอยู่จังหวะไหนก็ทำการเปล่งเสียงในจังหวะนั้น

ตัวอย่าง โน้ตเพลงดนตรีไทย



คำถาม ชุดที่ 1
        1.มาตราเสียงของดนตรีไทยมีความแตกต่างจากมาตรา เสียงดนตรีสากลอย่างไร?
        2.เพราะเหตุใด การกำหนดจังหวะของดนตรีไทยกับดนตรี สากลจึงมีความแตกต่างกัน?
        3.จังหวะของดนตรีไทย มีการแบ่งความสั้น-ยาวของเสียง ที่เท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด?
        4.เพลงไทยอัตราจังหวะ 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว มีความ แตกต่างกันอย่างไร?
        5.การบันทึกโน้ตเพลงไทยมีวิธีที่ใช้ในการบันทึกอย่างไร จงอธิบาย?

        การร้องเพลงและเล่นดนตรีประกอบเพลง ต้องอาศัยเทคนิคในการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง เพื่อช่วยให้การร้องและเล่นดนตรีประสบความสำเร็จ

คำถาม ชุดที่ 2
        1. จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากเครื่องดนตรีชนิดใด
            ก. ไวโอลีน                       ข. กีตาร์
            ค. ขิม                               ง. พิณ

        2. เสียง “เร มี ฟา ซอล” จัดเป็นการเคลื่อนที่ในทำนองเพลงแบบใด
            ก. แบบซ้ำไปซ้ำมา           ข. แบบราบเรียบ
            ค. แบบขั้นบันได               ง. แบบกระโดด

        3. การแบ่งทำนองเพลงไทย สามารถแบ่งได้อย่างไร
            ก. แบ่งเป็นทำนองละ 4 ท่อน ท่อนละ 8 ห้อง ห้องละ 4 จังหวะ
            ข. แบ่งเป็นทำนองละ 4 ท่อน ท่อนละ 6 ห้อง ห้องละ 5 จังหวะ
            ค. แบ่งเป็นทำนองละ 3 ท่อน ท่อนละ 8 ห้อง ห้องละ 5 จังหวะ
            ง. แบ่งเป็นทำนองละ 3 ท่อน ท่อนละ 6 ห้องห้องละ 4 จังหวะ

        4. เครื่องดนตรีชนิดใดได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย
            ก. ปี่มอญ แตรวิลันดา
            ข. กลองแขก ปี่ชวา
            ค. ซออู้ ซอสามสาย
            ง. สังข์ บัณเฑาะว์

        5. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในการขับร้องเพลงไทย
            ก. จิตใจอ่อนโยนของผู้ร้อง
            ข. การฝึกหัดที่ถูกต้อง
            ค. สุขภาพของผู้ร้อง
            ง. เสียงของผู้ร้อง
        6. การขับร้องเพลงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
            ก. ประยุกต์ศิลป์
            ข. วิจิตรศิลป์
            ค. นาฏศิลป์
            ง. คีตศิลป์

        7. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการบรรเลงเดี่ยวที่ดี
            ก. ลอกเลียนลีลาท่าทางการบรรเลงจากนักดนตรีที่มีชื่อเสียง
            ข. มีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน
            ค. ตรวจสอบเครื่องดนตรีทุกครั้งก่อนการบรรเลง
            ง. ต้องขยันหมั่นฝึกซ้อมทุกวันจนเกิดความชำนาญ

        8. การขับร้องเพลงจะทำให้เกิดความไพเราะต้องมีเทคนิคอย่างไร
            ก. ประสบการณ์
            ข. ทำนองเพลง
            ค. อารมณ์เพลง
            ง. จังหวะเพลง

        9. " เวลาดึกเดือนตกนกร้อง              ระวังไพรไก่ก้องกระชั้นขัน
             เสียงดุเหว่า เร้าเรียกหากัน            ฟังหวั่นว่าเสียงทรามวัย"
             กลอนบทนี้จัดเป็นเพลงประเภทใด
             ก. เพลงเกร็ด                                  ข. เพลงเรื่อง
             ค. เพลงตับ                                     ง. เพลงเถา

       10. สิ่งสำคัญที่จะทำให้การขับร้องเพลงไทยมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น คืออะไร
             ก. ประสบการณ์ของผู้ขับร้อง
             ข. ท่าทางของผู้ขับร้อง
             ค. บทเพลงที่ใช้ขับร้อง
             ง. การเอื้อนของเพลง


19 ความคิดเห็น:

  1. นางสาว...................... ชั้น.......... เลขท่ี่....
    ตอบคำถามชุดที่ 1
    1....................................
    2.....................................

    ตอบลบ
  2. น.ส.วราพร บุญภา ชั้น ม.4/3 เลขที่ 2
    ตอบคำถามชุดที่ 1
    1.แต่ละขั้นเสียงในเพลงไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง ๗ ขั้น ซึ่งต่างจาก เพลงสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง
    2.เพราะเครื่องดนตรีและเพลงที่เล่นมีความแตกต่างกันเพราะฉะนั้นการกำหนดจังหวะจึงมีความแตกต่างเช่นกัน
    3.เท่ากัน เพราะจังหวะจะต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างมีระบบ
    4. อัตราจังหวะชั้นเดียวจะเป็นจังหวะเร็ว อัตราจังหวะ 2 ชั้นจะเป็นจังหวะปานกลางมีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว อัตราจังหวะ 3 ชั้นจะเป็นจังหวะช้ามีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว
    5.โน้ตเพลงไทยจะบันทึกเป็นบรรทัด หนึ่งบรรทัดแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน เรียกว่า ห้อง หนึ่งห้องจะบันทึกโน้ตตามปกติได้ ๔ ตัว จำนวนตัวโน้ตในห้องแต่ละห้องจะมีสี่ตัว สามตัว สองตัว หนึ่งตัว หรือไม่มีตัวโน้ตเลย ขึ้นอยู่กับทำนองเพลงของแต่ละเพลง เครื่องหมาย ขีด _ ที่เขียนแทนที่ตัวโน้ตในตำแหน่งตัวโน้ตต่าง ๆ ที่ปรากฎในห้อง จะแสดงความยาวของเสียงของตัวโน้ตตัวที่อยู่ข้างหน้า หนึ่งขีด _ เท่ากับ ความยาวของเสียงตัวโน้ตหนึ่งตัว

    ตอบลบ
  3. นางสาวสุชาทิพย์ เลิศพัฒนนันท์ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่4/3 เลขที่ 4


    ตอบคำถามชุดที่1

    1. ระดับความสูงต่ำของเสียง เพลงไทยมีอยู่ ๗ ขั้นหรือ ๗ เสียง เหมือนกับเพลงสากล (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที) เมื่อถึงเสียงที่ ๘ ก็จะถือว่าเป็น เสียงซ้ำกับเสียงที่ ๑ (เรียกว่า คู่ ๘) และซ้ำต่อ ๆ ไปตามลำดับ แต่มีข้อแตกต่างกับเพลงสากลคือ แต่ละขั้นเสียงในเพลงไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง ๗ ขั้น ซึ่งต่างจาก เพลงสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง มี ไป ซอล) ทำให้เครื่องดนตรีไทยเดิมไม่สามารถเล่นควบคู่กับเครื่องดนตรีสากลได้ ภายหลังจึงได้มีการ พัฒนาปรับแต่งเครื่องดนตรีบางชิ้น ให้มีระยะห่างของเสียงเท่ากับเครื่องดนตรีสากลเพื่อให้สามารถเล่นพร้อมกันได้ เช่น ขลุ่ยเสียง C, ขลุ่ยเสียง Bb เป็นต้น

    2. ในดนตรีไทยไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวเหมือนดนตรีทางตะวันตก เพียงแต่จะเป็นการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีเอง ว่าแต่ละเพลงนั้นต้องการจะเล่นให้ช้าให้เร็วเพียงใด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าในบางครั้ง เพลงเดียวกันแต่บรรเลงโดยนักดนตรีต่างวง จะมีความช้าเร็วไม่เท่ากัน

    3. ไม่เท่ากัน เพราะ คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ

    4. อัตราจังหวะชั้นเดียว - จะบรรเลงเร็ว
    อัตราจังหวะ 2 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว) - จะบรรเลง ปานกลาง
    อัตราจังหวะ 3 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว) - จะบรรเลงช้า

    5. โน้ตเพลงไทยจะบันทึกเป็นบรรทัด หนึ่งบรรทัดแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน เรียกว่า ห้อง หนึ่งห้องจะบันทึกโน้ตตามปกติได้ ๔ ตัว จำนวนตัวโน้ตในห้องแต่ละห้องจะมีสี่ตัว สามตัว สองตัว หนึ่งตัว หรือไม่มีตัวโน้ตเลย ขึ้นอยู่กับทำนองเพลงของแต่ละเพลง เครื่องหมาย ขีด _ ที่เขียนแทนที่ตัวโน้ตในตำแหน่งตัวโน้ตต่าง ๆ ที่ปรากฎในห้อง จะแสดงความยาวของเสียงของตัวโน้ตตัวที่อยู่ข้างหน้า หนึ่งขีด _ เท่ากับ ความยาวของเสียงตัวโน้ตหนึ่งตัว



    ตอบลบ
  4. น.ส.อภิสรา โกมลเศรษฐ์ ชั้น ม.4/3 เลขที่ 5
    1.แต่มีข้อแตกต่างคือ แต่ละขั้นเสียงในดนตรีไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง 7 ขั้น ซึ่งต่างจากดนตรีสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง -มี ไป ซอล-)
    2.ทำนองเพลง อาจกำหนดไว้เป็น ความช้าเร็ว ต่าง ๆ กัน เช่นเพลงจังหวะช้า เพลงจังหวะเร็ว ในการใช้เครื่องดนตรีที่ต่างกัน
    3.เท่ากันเพราะจังหวะ หมายถึง อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างมีระบบ แต่ในบางครั้ง
    เพลงเดียวกันแต่บรรเลงดนตรีต่างวง จะมีจังหวะต่างกัน
    4. อัตราจังหวะ 2 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว) อัตราจังหวะ 3 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว)
    5.ในกรณีที่โน้ตเสียงสูงจะใช้การประจุดไว้บนเสียงโน้ต เช่น ดํ = โด สูง เป็นต้นหลักการนี้จะทำให้ผู้ที่เริ่มเรียนจะเข้าใจได้ง่ายสำหรับวิธีการบันทึกโน้ตไทยนั้นจะใช้การบันทึกไปบนช่องตารางโดยแบ่งออกเป็นบรรทัด ๆ ละ 8 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีบรรจุโน้ตไว้ 4 ตัวถ้าเป็นอัตราจังหวะ 2 ชั้นโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องจะเป็นโน้ตเสียงตกจังหวะซึ่งในที่นี้จะอธิบายเฉพาะการอ่านโน้ตแบบอัตรา 2 ชั้นเป็นหลัก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทำไมคำตอบข้อ 1 ถึงเหมือนกับของวราพรครับ

      ลบ
  5. น.ส.ณฐนน เรืองวัฒนานนท์ ม.4/3 เลขที่ 1
    1.มีข้อแตกต่างคือ แต่ละขั้นเสียงในดนตรีไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง 7 ขั้น แต่ดนตรีสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง
    2.วัฒนธรรมและเครื่องดนตรีที่ต่างกัน
    3.ไม่เท่ากัน ในดนตรีไทยไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวเหมือนดนตรีทางตะวันตก เพียงแต่จะเป็นการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีเอง ว่าแต่ละเพลงนั้นต้องการจะเล่นให้ช้าให้เร็วเพียงใด เพลงเดียวกันแต่บรรเลงโดยนักดนตรีต่างวง จะมีความช้าเร็วไม่เท่ากัน
    4. อัตราจังหวะ 2 ชั้น มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว
    อัตราจังหวะ 3 ชั้น มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว
    5.โน้ตเพลงไทยจะบันทึกเป็นบรรทัด หนึ่งบรรทัดแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน เรียกว่า ห้อง หนึ่งห้องจะบันทึกโน้ตตามปกติได้ ๔ ตัว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทำไมคำตอบข้อ 1 ถึงเหมือนกับของวราพรครับ

      ลบ
    2. ส่วนคำตอบข้อที่ 2 ต้องมีเหตุผลประกอบเพิ่มเติมด้วยนะครับ

      ลบ
    3. ไม่ระบุชื่อ7 กันยายน 2564 เวลา 00:38

      แบบกระโดด

      ลบ
  6. นางสาวสุชาทิพย์ เลิศพัฒนนันท์ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่4/3 เลขที่ 4


    ตอบคำถามชุดที่1

    1. ระดับความสูงต่ำของเสียง เพลงไทยมีอยู่ ๗ ขั้นหรือ ๗ เสียง เหมือนกับเพลงสากล (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที) เมื่อถึงเสียงที่ ๘ ก็จะถือว่าเป็น เสียงซ้ำกับเสียงที่ ๑ (เรียกว่า คู่ ๘) และซ้ำต่อ ๆ ไปตามลำดับ แต่มีข้อแตกต่างกับเพลงสากลคือ แต่ละขั้นเสียงในเพลงไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง ๗ ขั้น ซึ่งต่างจาก เพลงสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง มี ไป ซอล) ทำให้เครื่องดนตรีไทยเดิมไม่สามารถเล่นควบคู่กับเครื่องดนตรีสากลได้ ภายหลังจึงได้มีการ พัฒนาปรับแต่งเครื่องดนตรีบางชิ้น ให้มีระยะห่างของเสียงเท่ากับเครื่องดนตรีสากลเพื่อให้สามารถเล่นพร้อมกันได้ เช่น ขลุ่ยเสียง C, ขลุ่ยเสียง Bb เป็นต้น

    2. ในดนตรีไทยไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวเหมือนดนตรีทางตะวันตก เพียงแต่จะเป็นการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีเอง ว่าแต่ละเพลงนั้นต้องการจะเล่นให้ช้าให้เร็วเพียงใด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าในบางครั้ง เพลงเดียวกันแต่บรรเลงโดยนักดนตรีต่างวง จะมีความช้าเร็วไม่เท่ากัน

    3. ไม่เท่ากัน เพราะ คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ

    4. อัตราจังหวะชั้นเดียว - จะบรรเลงเร็ว
    อัตราจังหวะ 2 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว) - จะบรรเลง ปานกลาง
    อัตราจังหวะ 3 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว) - จะบรรเลงช้า

    5. โน้ตเพลงไทยจะบันทึกเป็นบรรทัด หนึ่งบรรทัดแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน เรียกว่า ห้อง หนึ่งห้องจะบันทึกโน้ตตามปกติได้ ๔ ตัว จำนวนตัวโน้ตในห้องแต่ละห้องจะมีสี่ตัว สามตัว สองตัว หนึ่งตัว หรือไม่มีตัวโน้ตเลย ขึ้นอยู่กับทำนองเพลงของแต่ละเพลง เครื่องหมาย ขีด _ ที่เขียนแทนที่ตัวโน้ตในตำแหน่งตัวโน้ตต่าง ๆ ที่ปรากฎในห้อง จะแสดงความยาวของเสียงของตัวโน้ตตัวที่อยู่ข้างหน้า หนึ่งขีด _ เท่ากับ ความยาวของเสียงตัวโน้ตหนึ่งตัว



    ตอบลบ
  7. นางสาว ธารทิพย์ วังใน ชั้น ม.4/1 เลขที่6
    คำตอบชุดที่ 1
    1.มาตราเสียง หมายถึงระดับความสูงต่ำของเสียง เพลงไทยมีอยู่ ๗ ขั้นหรือ ๗ เสียง เหมือนกับเพลงสากล (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที) เมื่อถึงเสียงที่ ๘ ก็จะถือว่าเป็น เสียงซ้ำกับเสียงที่ ๑ (เรียกว่า คู่ ๘) และซ้ำต่อ ๆ ไปตามลำดับ แต่มีข้อแตกต่างกับเพลงสากลคือ แต่ละขั้นเสียงในเพลงไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง ๗ ขั้น ซึ่งต่างจาก เพลงสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง มี ไป ซอล) ทำให้เครื่องดนตรีไทยเดิมไม่สามารถเล่นควบคู่กับเครื่องดนตรีสากลได้ ภายหลังจึงได้มีการ พัฒนาปรับแต่งเครื่องดนตรีบางชิ้น ให้มีระยะห่างของเสียงเท่ากับเครื่องดนตรีสากลเพื่อให้สามารถเล่นพร้อมกันได้ เช่น ขลุ่ยเสียง C, ขลุ่ยเสียง Bb เป็นต้น
    2.จังหวะ หมายถึง อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างมีระบบ โดยจังหวะในที่นี้ยกตัวอย่างให้เป็นจังหวะของการปรบมือจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จังหวะคือ
    จังหวะตก หมายถึงจังหวะหนักหรือจังหวะที่ปรบมือแล้วทำให้เกิดเสียง
    จังหวะยก หมายถึง จังหวะที่เรายกมือออกจากันหรือจังหวะที่ไม่เกิดเสียงใดๆ
    สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในการอ่านโน้ตดนตรีไทย
    การบันทึกโน้ตดนตรีไทย ดนตรีไทยในหนึ่งบรรทัด มีห้องทั้งหมด 8 ห้อง ในแต่ละห้องสามารถบรรจุโน้ตได้ 4 ตัว
    ในหนึ่งห้อง แบ่งออกได้เป็น 4 จังหวะ คือ /_ _ _ _/ เรียงลำดับ จากจังหวะที่ 1 2 3 และ 4 โดยกำหนดให้
    จังหวะที่1 เป็นจังหวะยก
    จังหวะที่2 เป็นจังหวะตก
    จังหวะที่3 เป็นจังหวะยก
    จังหวะที่4 เป็นจังหวะตก
    3.ไม่เท่ากัน เพราะจังหวะ(Rhythm) หมายถึงเสียงยาว ๆ สั้น ๆ หรือเสียงหนัก ๆ เบา ๆ ซึ่งประกอบอยู่ในส่วนต่างๆของบทเพลง มีองค์ประกอบทั่วๆไป
    4.อัตราจังหวะในดนตรีไทยมีสามชนิด คือ อัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น และ ชั้นเดียว
    อัตราจังหวะสามชั้น เป็นจังหวะช้า
    อัตราจังหวะสองชั้น เป็นจังหวะปานกลาง
    อัตราจังหวะชั้นเดียว เป็นจังหวะเร็ว
    5.การบันทึกโน้ตไทยทั้ง 8 ลักษณะนี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเริ่มอ่าน
    โน้ตเพลงไทย เพราะสามารถครอบคลุมรูปแบบการบันทึกโน้ตเพลงไทยได้ทั้งหมด
    การศึกษาเพลงไทยนั้นควรจะต้องทราบถึงวิธีการอ่านโน้ตไทยขั้นพื้นฐานเสียก่อน
    จึงนำไปสู่การศึกษาเพลงไทยในเชิงทฤษฎีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

    ตอบลบ
  8. นางสาวจิราพัชร ชัยวงค์ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 17
    ตอบคำถามชุดที่ 1
    1 มาตราเสียงไทยมีอยู่ 7 ขั้น 7 เสียง เหมือนกับเพลงสากลแต่มีข้อแตกต่างกับเพลงสากล คือ แต่ละชั้นเสียงในเพลงไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง7 ขั้น ซึ่งต่างจากเพลงสากลที่มีความห่างบางชั้นแต่เป็นเสียง
    2 ดนตรีไทยีจังหวะ 1 ชั้นที่เร็วมาก 2 ชั้นที่ปานกลาง 3 ชั้น จังหวะช้า
    ดนตรีสากล ตัวบน เลข 2 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 2ตัว
    ตัวบน เลข 3 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 3 ตัว
    ตัวบน เลข 4 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 4 ตัว
    ตัวบน เลข 6 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 6 ตัว
    ตัวล่าง เลข 2 ใช้แทนโน๊ต ตัวขาว
    ตัวล่าง เลข 4 ใช้แทนโน๊ต ตัวดำ
    ตัวล่าง เลข 8 ใช้แทนโน๊ต ตัวเบเบ็ด1ชั้น
    ตัวล่าง เลข 16 ใช้แทนโน๊ต ตัวเบเบ็ด 2 ชั้น
    3 ความช้า-เร็ว อาจเกิดขึ้นในลักษณะช้าหรือเร็วขึ้นทีทันใด หรืออาจมีลักษณะค่อยๆช้าลงหรือค่อยๆเร็วขึ้น
    4 อัตราจังหวะ 3 ชั้น ท่อนที่ 2 อัตราจังหวะ 2ชั้น และท่อนที่ 3 มีอัตราจังหวะ 1ชั้น โดยฉิ่งจะทำหน้าที่กำกับจังหวะ อัตราจังหวะ
    5 โน๊ตเพลวไทยจะบันทึกเป็นบรรทัดหนึ่งบรรทัดแบ่งออกเป็น 8ส่วน เรียกว่าห้องหนึ่งห้องจะเป็นโน๊ตบันทึกตามปกติ. จำนวนตัวโน๊ตในห้องจะมีสี่ตัว สามตัว สองตัว หนึ่งตัว หรือไม่มีตัวโน๊ตเลยขึ้นอยู่กับทำนองเพลงของแต่ละเพลง

    ตอบลบ
  9. น.ส ปอรรัตน์ จอมคำ ม.4/1 เลขที่.16
    1. ดนตรีไทยและดนตรีสากลนั้น แต่ละเสียงมีความถี่ไม่เท่ากัน เนื่องจากดนตรีไทยแบ่ง 1 ทบเสียง (octave) ออกเป็น 7 เสียง ที่มีความถี่ห่างเท่าๆกัน (ในความหมายว่า เสียงดนตรีไทยเป็นเสียงเต็ม (whole tone)) ส่วนดนตรีสากลแบ่ง 1 ทบเสียงออกเป็น 7 เสียงเหมือนกัน แต่มีความถี่ห่างไม่เท่ากันทั้งหมด กล่าวคือ จะมีเสียงเต็มอยู่ 5 เสียง และมีครึ่งเสียง (semi tone) อยู่ 2 เสียง ที่เป็นเช่นนี้เพราะดนตรีสากลสามารถแบ่ง 1 ทบเสียงออกเป็น 6 เสียงเต็มที่มีความถี่ห่างเท่าๆกัน และยังแบ่งครึ่ง 1 เสียงเต็มออกเป็น 2 ครึ่งเสียง ดังนั้นใน 1 ทบเสียงจึงแบ่งได้อีกเป็น 12 ครึ่งเสียง รูปที่ 1 แสดงการแบ่งช่วงความถี่ใน 1 ทบเสียง
    2. เพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย โดยเริ่มจากนำทำนองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐานของโน้ตเพลงแบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มีละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย มีบทบาทสำคัญทำให้เพลงไทยสากลได้รับความนิยม จนในปัจจุบันแตกสาขาไปอีกหลากหลายแนวเพลง
    3. จังหวะ เป็นเครื่องกำหนดความช้า-เร็วของเพลง ในดนตรีไทยไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวเหมือนดนตรีทางตะวันตก เพียงแต่จะเป็นการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีเอง ว่าแต่ละเพลงนั้นต้องการจะเล่นให้ช้าให้เร็วเพียงใด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าในบางครั้ง เพลงเดียวกันแต่บรรเลงโดยนักดนตรีต่างวง จะมีความช้าเร็วไม่เท่ากัน
    4. อัตราจังหวะชั้นเดียว
    อัตราจังหวะ 2 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว)
    อัตราจังหวะ 3 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว)
    ซึ่งความสั้นยาวของเพลงดังกล่าว เมื่อบรรเลงต่อเนื่อง จึงมีผลให้การบรรเลงเกิดความช้าเร็วไปตามสัดส่วนนี้ด้วย นั่นคือเพลงที่มีจังหวะ 3 ชั้นจะบรรเลงช้า เพลงที่มีจังหวะ 2 ชั้นจะบรรเลง ปานกลาง และจังหวะชั้นเดียวจะบรรเลงเร็ว
    5. การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่าง ๆ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือพยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำ ๆ จึงจะมีความหมาย ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
    ในทางดนตรีก็เช่นกันความคิดของผู้ประพันธ์เพลง (Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ตเพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรีผู้นั้นไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่าง ๆ นั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟังบันทึกใช่แทนเสียงดนตรี

    ตอบลบ
  10. นางสาว สิรภา จิระแสงเมืองมา ม.4/1 เลขที่ 3
    ตอบข้อที่ 1 แต่ละขั้นเสียงในดนตรีไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง 7 ขั้น ซึ่งต่างจากดนตรีสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง -มี ไป ซอล-) ทำให้เสียงจากเครื่องดนตรีไทยเดิม ไม่สามารถเล่นควบคู่กับเครื่องดนตรีสากลได้ ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาปรับแต่งเครื่องดนตรีบางชิ้น ให้มีระยะห่างของเสียงเท่ากับเครื่องดนตรีสากลเพื่อให้สามารถเล่นพร้อมกันได้ เช่น ขลุ่ยเสียง C, ขลุ่ยเสียง Bb
    ตอบข้อที่ 2 ความช้า-เร็วของเพลง ในดนตรีไทยไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวเหมือนดนตรีทางตะวันตก เพียงแต่จะเป็นการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีเอง ว่าแต่ละเพลงนั้นต้องการจะเล่นให้ช้าให้เร็วเพียงใด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าในบางครั้ง เพลงเดียวกันแต่บรรเลงโดยนักดนตรีต่างวง จะมีความช้าเร็วไม่เท่ากัน
    ตอบข้อที่ 3 ความเร็วของบทเพลงต่าง ๆ ที่อัตราความช้าเร็วต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์เพลงผู้กำหนดว่าจะให้มีความช้า – เร็ว เท่าไร อาจมีจังหวะเร็ว ปานกลาง หรือช้าก็ได้ แต่ต้องเคาะจังหวะให้ช่องของจังหวะห่างเท่ากันเสมอ ในทางปฏิบัตินั้นการกำหนดความช้า – เร็ว ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน
    ตอบข้อที่ 4 อัตราจังหวะชั้นเดียว
    อัตราจังหวะ 2 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว)
    อัตราจังหวะ 3 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว)
    ซึ่งความสั้นยาวของเพลงดังกล่าว เมื่อบรรเลงต่อเนื่อง จึงมีผลให้การบรรเลงเกิดความช้าเร็วไปตามสัดส่วนนี้ด้วย นั่นคือเพลงที่มีจังหวะ 3 ชั้นจะบรรเลงช้า เพลงที่มีจังหวะ 2 ชั้นจะบรรเลง ปานกลาง และจังหวะชั้นเดียวจะบรรเลงเร็ว
    ตอบข้อที่ 5 จำนวนตัวโน้ตในห้องแต่ละห้องจะมีสี่ตัว สามตัว สองตัว หนึ่งตัว หรือไม่มีตัวโน้ตเลย ขึ้นอยู่กับทำนองเพลงของแต่ละเพลง เครื่องหมาย ขีด _ ที่เขียนแทนที่ตัวโน้ตในตำแหน่งตัวโน้ตต่าง ๆ ที่ปรากฎในห้อง จะแสดงความยาวของเสียงของตัวโน้ตตัวที่อยู่ข้างหน้า หนึ่งขีด _ เท่ากับ ความยาวของเสียงตัวโน้ตหนึ่งตัว

    ตอบลบ
  11. นางสาวจิราพัชร ชัยวงค์ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 17
    ตอบคำถามชุดที่ 1
    1 มาตราเสียงไทยมีอยู่ 7 ขั้น 7 เสียง เหมือนกับเพลงสากลแต่มีข้อแตกต่างกับเพลงสากล คือ แต่ละชั้นเสียงในเพลงไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง7 ขั้น ซึ่งต่างจากเพลงสากลที่มีความห่างบางชั้นแต่เป็นเสียง
    2 ดนตรีไทยีจังหวะ 1 ชั้นที่เร็วมาก 2 ชั้นที่ปานกลาง 3 ชั้น จังหวะช้า
    ดนตรีสากล ตัวบน เลข 2 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 2ตัว
    ตัวบน เลข 3 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 3 ตัว
    ตัวบน เลข 4 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 4 ตัว
    ตัวบน เลข 6 หมายถึง มีตัวโน๊ตได้ 6 ตัว
    ตัวล่าง เลข 2 ใช้แทนโน๊ต ตัวขาว
    ตัวล่าง เลข 4 ใช้แทนโน๊ต ตัวดำ
    ตัวล่าง เลข 8 ใช้แทนโน๊ต ตัวเบเบ็ด1ชั้น
    ตัวล่าง เลข 16 ใช้แทนโน๊ต ตัวเบเบ็ด 2 ชั้น
    3 ความช้า-เร็ว อาจเกิดขึ้นในลักษณะช้าหรือเร็วขึ้นทีทันใด หรืออาจมีลักษณะค่อยๆช้าลงหรือค่อยๆเร็วขึ้น
    4 อัตราจังหวะ 3 ชั้น ท่อนที่ 2 อัตราจังหวะ 2ชั้น และท่อนที่ 3 มีอัตราจังหวะ 1ชั้น โดยฉิ่งจะทำหน้าที่กำกับจังหวะ อัตราจังหวะ
    5 โน๊ตเพลวไทยจะบันทึกเป็นบรรทัดหนึ่งบรรทัดแบ่งออกเป็น 8ส่วน เรียกว่าห้องหนึ่งห้องจะเป็นโน๊ตบันทึกตามปกติ. จำนวนตัวโน๊ตในห้องจะมีสี่ตัว สามตัว สองตัว หนึ่งตัว หรือไม่มีตัวโน๊ตเลยขึ้นอยู่กับทำนองเพลงของแต่ละเพลง

    ตอบลบ
  12. น.ส ปอรรัตน์ จอมคำ ม.4/1 เลขที่.16
    1. ดนตรีไทยและดนตรีสากลนั้น แต่ละเสียงมีความถี่ไม่เท่ากัน เนื่องจากดนตรีไทยแบ่ง 1 ทบเสียง (octave) ออกเป็น 7 เสียง ที่มีความถี่ห่างเท่าๆกัน (ในความหมายว่า เสียงดนตรีไทยเป็นเสียงเต็ม (whole tone)) ส่วนดนตรีสากลแบ่ง 1 ทบเสียงออกเป็น 7 เสียงเหมือนกัน แต่มีความถี่ห่างไม่เท่ากันทั้งหมด กล่าวคือ จะมีเสียงเต็มอยู่ 5 เสียง และมีครึ่งเสียง (semi tone) อยู่ 2 เสียง ที่เป็นเช่นนี้เพราะดนตรีสากลสามารถแบ่ง 1 ทบเสียงออกเป็น 6 เสียงเต็มที่มีความถี่ห่างเท่าๆกัน และยังแบ่งครึ่ง 1 เสียงเต็มออกเป็น 2 ครึ่งเสียง ดังนั้นใน 1 ทบเสียงจึงแบ่งได้อีกเป็น 12 ครึ่งเสียง รูปที่ 1 แสดงการแบ่งช่วงความถี่ใน 1 ทบเสียง
    2. เพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย โดยเริ่มจากนำทำนองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐานของโน้ตเพลงแบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มีละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย มีบทบาทสำคัญทำให้เพลงไทยสากลได้รับความนิยม จนในปัจจุบันแตกสาขาไปอีกหลากหลายแนวเพลง
    3. จังหวะ เป็นเครื่องกำหนดความช้า-เร็วของเพลง ในดนตรีไทยไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวเหมือนดนตรีทางตะวันตก เพียงแต่จะเป็นการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีเอง ว่าแต่ละเพลงนั้นต้องการจะเล่นให้ช้าให้เร็วเพียงใด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าในบางครั้ง เพลงเดียวกันแต่บรรเลงโดยนักดนตรีต่างวง จะมีความช้าเร็วไม่เท่ากัน
    4. อัตราจังหวะชั้นเดียว
    อัตราจังหวะ 2 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว)
    อัตราจังหวะ 3 ชั้น (มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ชั้น, หรือ 4 เท่าของชั้นเดียว)
    ซึ่งความสั้นยาวของเพลงดังกล่าว เมื่อบรรเลงต่อเนื่อง จึงมีผลให้การบรรเลงเกิดความช้าเร็วไปตามสัดส่วนนี้ด้วย นั่นคือเพลงที่มีจังหวะ 3 ชั้นจะบรรเลงช้า เพลงที่มีจังหวะ 2 ชั้นจะบรรเลง ปานกลาง และจังหวะชั้นเดียวจะบรรเลงเร็ว
    5. การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่าง ๆ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือพยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำ ๆ จึงจะมีความหมาย ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
    ในทางดนตรีก็เช่นกันความคิดของผู้ประพันธ์เพลง (Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ตเพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรีผู้นั้นไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่าง ๆ นั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟังบันทึกใช่แทนเสียงดนตรี

    ตอบลบ
  13. นาย พงศธร อินทรโชติ เลขที่15 ม6/2
    ตอบคำถามชุดที่1
    1.ค่านิยมและความเชื่อของมนุษย์
    2.เกิดความบันเทิงสนุนสนาน
    3.สมัยจอมพลป.นั้นดนตรีไทยมีความล้าหลังมากจึงมีการนำดนตรีสากลเข้ามา

    ตอบลบ
  14. 1.มาตราเสียงของดนตรีไทยมีความแตกต่างจากมาตรา เสียงดนตรีสากลอย่างไร?
    2.เพราะเหตุใด การกำหนดจังหวะของดนตรีไทยกับดนตรี สากลจึงมีความแตกต่างกัน?
    3.จังหวะของดนตรีไทย มีการแบ่งความสั้น-ยาวของเสียง ที่เท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด?
    4.เพลงไทยอัตราจังหวะ 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว มีความ แตกต่างกันอย่างไร?
    5.การบันทึกโน้ตเพลงไทยมีวิธีที่ใช้ในการบันทึกอย่างไร จงอธิบาย?

    นางสาววีธรา ธาดาพงศ์ ม.4/1 เลขที่ 13 ตอบคำถามชุดที่ 1
    1.) ข้อเเตกต่างมันอยู่ตรงที่ดนตรีไทยนั้นมีระยะห่างตัวโน๊ตเท่ากันทั้งหมด 7 ขั้น ส่วนดนตรีสากลนั้นมีระยะห่างของดนตรีที่เท่ากันบ้าง สั้นไปบ้าง
    2.)เครื่องดนตรีที่ใช้เเตกต่างกัน จังหวะของตัวโน๊ตที่ไม่เหมือนกัน ระดับเสียงของตัวโน๊ตก็เเตกต่างกัน
    3.)เท่ากัน เพราะ ความไพเราะ พร้อมเพรียง การเข้ากันของเสียงที่สม่ำเสมอกัน
    4.)อัตราจังหวะ 2ขั้น มีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของชั้นเดียว
    อัตราจังหวะ 3 ขั้นมีจำนวนห้องเพลงเป็น 2 เท่าของ 2 ขั้นหรือ 4 เท่าของขั้นเดียว
    5.)1 ห้องจะมีโน๊ต 4 ตัว จังหวะที่หยุดจะใช้สัญลักษณ์ -. ดนตรีไทยเเละดนตรีสากลนั้นเเต่ละเสียงมีความถี่ไม่เท่ากัน
    เนื่องจากดนตรีไทยเเบ่ง 1 ทบเสียง ออกเป็น 7 เสียง ที่มีความถี่ห่างเท่าๆกัน
    ส่วนดนตรีสากลเเบ่ง 1 ทบเสียง ออกเป็น 7 เสียง เหมือนกัน เเต่มีความถี่ห่างไม่เท่ากันทั้งหมด

    ตอบลบ
  15. มีเฉลยชุดที่2ป่าวครับ

    ตอบลบ