วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 5 ม.6 เรื่อง การปฏิบัติดนตรีสากล

        การอ่านและเขียนเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลได้ จะทำให้ร้องเพลงหรือเล่นเครื่องดนตรี แบบเดี่ยวและรวมวงได้ถูกต้อง

ในหน่วยการเรียนนี้ นักเรียนจะต้อง
        1.อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่างๆ
        2.ร้องเพลง หรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง


เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
        มีลักษณะเป็นตัวเลข 2 ตัวที่เขียนซ้อนกันคล้ายเลขเศษส่วน หรือบางบทเพลงก็ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเลข ใช้เพื่อแสดงให้รู้ว่าจังหวะ(rhythm) และอัตราจังหวะ (meter) ของบทเพลงนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งจังหวะและอัตราจังหวะก็เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของบทเพลง ซึ่งในขณะบทเพลงดำเนินไป จังหวะและอัตราจังหวะก็จะต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับความเร็วของจังหวะ(tempo) ด้วย

        - เพลงทุกเพลงจะต้องมี Time Signature กำกับอยู่ตอนต้นเพลงเสมอ
        - โดยจะพบได้ติดกับ Clef และ Keysignature
        - มีลักษณะเป็นตัวเลขสองตัวขี่คอกันอยู่เลขตัวบน อยู่ใน 2 ช่องบนของบรรทัด 5 เส้น เลขตัวล่าง ก็อยู่ใน 2 ช่องล่าง
        - เลขตัวบน บอกเราว่า มีกี่จังหวะในแต่ละห้อง เช่น ถ้าเป็นเลข "2" ก็หมายความว่า เพลงนั้นจะมี 2 จังหวะในแต่ละห้อง ถ้าเป็นเลข "3" ก็มี 3 จังหวะในแต่ละห้อง เป็นต้น
        - ส่วนเลขตัวล่าง จะบอกว่า ให้ใช้โน้ตชนิดใดเป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ

บันไดเสียง (Scale)
        หมายถึง โน้ต 5-12 ตัวที่เรียงกันตามลำดับจากเสียงต่ำไปสูง และจากเสียงสูงไปเสียงต่ำ มีโครงสร้างที่มีการกำหนดช่วงห่าง ของเสียงจากตัวโน้ตหนึ่งไปอีกตัวโน้ตหนึ่งอย่างเป็นระบบ ในแต่ละชนิดของบันไดเสียง ได้แก่ บันไดเสียงเมเจอร์ (major scale) บันไดเสียงไมเนอร์ (minor scale) เป็นต้น บันไดเสียงเป็นตัวกำหนดแนวทางการเคลื่อนของตัวโน้ตในเพลง และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับบทเพลงอีกด้วย

โครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale)
โครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์ (Minor Scale)

โครงสร้างของบันไดเสียงโครมาติค (Chromatic Scale)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น